|
|
|
|
|
|
ประวัติความเป็นมา
ชาวตำบลนาหัวบ่อแรกเริ่มเดิมมีชนเผ่าญ้อและเผ่าโซ่ ได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว และได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมหนองบ่อ และลำห้วยทวย ซึ่งเป็นแหล่งทำกินที่อุดมสมบูรณ์และเหมาะสมแก่การเพาะปลูก จึงทำให้ชาวบ้านตำบลนาหัวบ่อได้ตั้งถิ่นฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทำไร่ทำสวน เมื่อก่อนตำบลนาหัวบ่อขึ้นตรงกับตำบลโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้ขอแยกการปกครองออกจากตำบลโพนสวรรค์มาตั้งเป็นตำบลนาหัวบ่อ มีหมู่บ้านในการปกครอง ๖ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ บ้านโพนเพ็ก,หมู่ที่ ๒ บ้านนาล้อม, หมู่ที่ ๓ บ้านนาหัวบ่อ,หมู่ที่ ๔ บ้านหนองผักตบ , หมู่ที่ ๕ บ้านหนองแสง, หมู่ที่ ๖ บ้านโพนตูม, หมู่ที่ ๗ บ้านหนองบัวแดง, หมู่ที่ ๘ บ้านเจริญศิลป์ ,หมู่ที่ ๙ บ้านหนองผักตบ และบ้านนาล้อม หมู่ที่ 10
สภาพทั่วไปของตำบลนาหัวบ่อ
ที่ตั้ง ตำบลนาหัวบ่อตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอโพนสวรรค์ ห่างจากอำเภอโพนสวรรค์ ประมาณ ๙ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครพนมไปทางทิศตะวันตก ๕๔ กิโลเมตร ใช้ระยะเวลา ๖๐ นาที ในการเดินทางจากอำเภอโพนสวรรค์ถึงจังหวัดนครพนม องค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐
อาณาเขตของตำบล
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์
เนื้อที่ ตำบลนาหัวบ่อมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๔๑,๘๖๐ ไร่ (ประมาณ ๖๘ ตารางกิโลเมตร)
แบ่งประเภทการใช้ที่ดิน ดังนี้
ลำดับที่
|
ประเภทการใช้ที่ดิน
|
พื้นที่ (ไร่)
|
ร้อยละ
|
๑
|
พักอาศัย/สถานที่ราชการ
|
๒,๐๐๐ |
๔.๗๘ |
๒
|
เกษตรกรรม
|
๒๓,๔๒๕
|
๕๕.๙๖
|
๓
|
ป่าสงวนแห่งชาติ
|
๑๕,๓๓๕
|
๓๖.๖๓
|
๔
|
ที่สาธารณะประโยชน์
|
๑,๑๐๐
|
๒.๖๓
|
รวม
|
|
๑๐๐.๐๐
|
ข้อมูลด้านการพาณิชย์ ดังนี้
- ร้านค้า จำนวน ๒๖ ร้าน
- โรงสีข้าวจำนวน ๑๖ แห่ง
- ปั๊มน้ำมันแบบหัวจ่าย จำนวน ๒ ปั๊ม
- ปั๊มน้ำมันแบบหลอดแก้ว (มือหมุน) จำนวน ๒ ปั๊ม
-โรงเลื่อย จำนวน ๑ โรง
- รงพริกป่น จำนวน ๑ โรง
- ร้านซ่อมรถ จำนวน ๕ ร้าน
- ร้านเกมส์ จำนวน ๑ ร้าน
- เสารับสัญญาณโทรศัพท์ จำนวน ๑ เสา
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๔ ตู้
- ร้านขายน้ำมันขวด จำนวน ๑ ร้าน
- ร้านซ่อมโทรศัพท์ อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน ๑ ร้าน
ข้อมูลด้านการสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๒ แห่ง คือ ๑) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหัวบ่อ มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๓ คน ๒) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนตูม มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๒ คน
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ๑๐๐ %
ข้อมูลประชากร
- จำนวนหลังคาเรือน ทั้งสิ้น ๑,๙๕๘ ครัวเรือน
- จำนวนประชากร ทั้งสิ้น ๖,๐๕๒ คน แยกเป็น
ชาย จำนวน ๓,๐๓๗ คน
หญิง จำนวน ๓,๐๑๕ คน
แยกเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ ๑ มี ๑๘๐ หลังคาเรือน ประชากร ๕๕๙ คน เป็นชาย ๒๗๓ คน เป็นหญิง ๒๘๓ คน
- หมู่ที่ ๒ มี ๒๓๕ หลังคาเรือน ประชากร ๖๗๓ คน เป็นชาย ๓๔๓ คน เป็นหญิง ๓๓๐ คน
- หมู่ที่ ๓ มี ๒๙๘ หลังคาเรือน ประชากร ๘๗๒ คน เป็นชาย ๔๔๔ คน เป็นหญิง ๔๒๘ คน
- หมู่ที่ ๔ มี ๒๖๑ หลังคาเรือน ประชากร ๘๘๑ คน เป็นชาย ๔๓๗ คน เป็นหญิง ๔๔๔ คน
- หมู่ที่ ๕ มี ๑๔๘ หลังคาเรือน ประชากร ๔๑๖ คน เป็นชาย ๒๒๒ คน เป็นหญิง ๑๙๔ คน
- หมู่ที่ ๖ มี ๑๖๔ หลังคาเรือน ประชากร ๕๐๖ คน เป็นชาย ๒๗๑ คน เป็นหญิง ๒๓๕ คน
- หมู่ที่ ๗ มี ๒๖๐ หลังคาเรือน ประชากร ๙๑๗ คน เป็นชาย ๔๕๐ คน เป็นหญิง ๔๖๗ คน
- หมู่ที่ ๘ มี ๙๖ หลังคาเรือน ประชากร ๔๖๓ คน เป็นชาย ๒๓๓ คน เป็นหญิง ๒๓๐ คน
- หมู่ที่ ๙ มี ๑๖๐ หลังคาเรือน ประชากร ๕๗๑ คน เป็นชาย ๒๗๔ คน เป็นหญิง ๒๙๗ คน
- หมู่ที่ ๑๐ มี ๕๖ หลังคาเรือน ประชากร ๑๙๓ คน เป็นชาย ๘๙ คน เป็นหญิง ๑๐๔ คน
สวัสดิการและการสังคมสงเคราะห์
- ผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ได้รับสวัสดิการ ๔๕๖ คน
- ผู้พิการทั้งหมด ได้รับสวัสดิการ ๑๒๘ คน
- ผู้ป่วยโรคเอดส์ ได้รับสวัสดิการ ๒ คน
ข้อมูลแหล่งน้ำ
- หนองน้ำ จำนวน ๒ แห่ง
- ลำห้วย จำนวน ๒๐ แห่ง
- ฝาย จำนวน ๒ แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน ๘ แห่ง
- สระน้ำ จำนวน ๓๔๘ แห่ง
- ประปา จำนวน ๙ แห่ง
- บ่อบาดาล จำนวน ๑๕๒ แห่ง
|
|
Download File
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วัน พฤหัสบดี ที่ 10 ตุลาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|